การให้บริการสื่อส่งเสริมการเกษตร ผ่านเว็บไซต์กรมส่งเสริมการเกษตร

ขอขอบคุณข้อมูล : กลุ่มพัฒนาสื่อส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
ศึกษาข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจ : กลุ่มพัฒนาสื่อส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

การจัดสรรทุนศึกษาต่อในประเทศของบุคลากรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ สถาบัน AIT

ขอขอบคุณข้อมูล : สถาบันเกษตราธิการ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ศึกษาข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจ : Kst Channel 2021

หลักสูตรการใช้งานเครื่องมือด้านดิจิทัลเพื่อการทำงานสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร การใช้งานเครื่องมือด้านดิจิทัลเพื่อการทำงานสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ โดยสถาบันเกษตราธิการ

วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ถึงความสามารถของการใช้งานเครื่องมือด้านดิจิทัลจากโปรแกรม Microsoft Word Microsoft Excel และ Microsoft PowerPoint และสามารถใช้งานโปรแกรมในการจัดรูปแบบเอกสารในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงวิธีการทำงานกับกราฟิกในเอกสาร การใช้สูตรและฟังก์ชันในการคำนวณ และเทคนิคการนำเสนอผลงานที่มีประสิทธิภาพและน่าสนใจ

หลักสูตรการประยุกต์ใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันด้วย Cloud Computing

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการประยุกต์ใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันด้วย Cloud Computing โดยสถาบันเกษตราธิการ

วัตถุประสงค์

  1. มีความรู้ มีทักษะและมีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี Google Apps เพื่อสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานกลุ่มในระบบออนไลน์และเพิ่มขีดความสามารถของผู้ปฏิบัติงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคุกคามระบบคอมพิวเตอร์ วิธีการป้องกัน แนวทางการแก้ไข วิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นรวมถึงการสำรองข้อมูลเพื่อที่จะสามารถปฏิบัติงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แผนผังก้างปลา (Fish Bone)

แผนผังก้างปลา (Fish Bone) หรือแผนผังสาเหตุและผล (Cause and Effect Diagram)
เป็นแผนผังที่ใช้แสดงความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบระหว่างสาเหตุหลาย ๆ สาเหตุที่เป็นไปได้ที่ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาหนึ่งปัญหา โดยจะใช้เมื่อต้องการจะวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง เพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง

เมื่อไหร่จึงจะใช้แผนผังก้างปลา…
1. เมื่อต้องการค้นหาสาเหตุแห่งปัญหา
2. เมื่อต้องการทำการศึกษา ทำความเข้าใจ หรือทำความรู้จักกับกระบวนการอื่น ๆ เพราะว่าโดยคนส่วนใหญ่จะรู้ปัญหาเฉพาะในพื้นที่ของตนเท่านั้น แต่เมื่อมีการทำผังก้างปลาแล้ว จะทำให้เราสามารถรู้ปัญหารวมง่ายขึ้น
3. เมื่อต้องการให้เป็นแนวทางในการระดมสมอง ซึ่งจะช่วยให้ทุก ๆ คนให้ความสนใจในปัญหาของกลุ่มซึ่งแสดงไว้ที่หัวปลา

วิธีการทำแผนผังก้างปลา
สิ่งสำคัญในการสร้างแผนผัง คือ ต้องทำเป็นทีม เป็นกลุ่ม ใช้ขั้นตอน 6 ขั้นตอน
1. กำหนดประโยคปัญหาที่หัวปลา วาดตามแนวนอนของกระดาษ เขียนปัญหาให้กระชับ ชัดเจน และเป็นประเด็นปัญหาประเด็นเดียว
2. กำหนดกลุ่มปัจจัยที่จะทำให้เกิดปัญหานั้น ๆ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำแผนผังก้างปลา
3. ระดมสมองเพื่อค้นหาสาเหตุของแต่ละปัจจัยดังกล่าว และเพื่อหาสาเหตุย่อยในแต่ละปัจจัยด้วยคำถามแลกเปลี่ยน “ทำไมๆๆๆ…จึงเกิดขึ้น” หากผู้เข้าร่วมคิดสาเหตุไม่ออกสามารถแลกเปลี่ยนร่วมกันในเวทีได้แต่ต้องไม่ชี้นำทางความคิด
4. สอบทานความเป็นเหตุเป็นผลด้วยประโยคที่ว่า “เพราะ..(สาหตุ)…จึงทำให้เกิด…(ผล)…ของปัญหา
5. จัดลำดับความสำคัญของสาเหตุ โดยให้ความสำคัญกับสาเหตุที่มีผลกระทบกับหัวปลามาก ๆ เพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางการแก้ปัญหา ทั้งนี้
ต้องเลือกสาเหตุที่จะส่งผลต่อการแก้ไขปัญหามาก แนวทางต้องง่าย ไม่ซับซ้อน ทำได้เอง
6. จัดทำแนวทางการปรับปรุงปัญหาตามสาเหตุหลักและสาเหตุรอง

แผนที่ความคิด (MIND MAP)

MIND MAP : แผนที่ความคิด
เครื่องมือจดบันทึกความคิดของเราเปรียบเสมือนการจำลองความคิดจากสมองลงสู่กระดาษ โดยออกมาในลักษณะคล้ายแผนที่ แผนภาพที่แตกแขนงออกเหมือนกิ่งไม้ และเชื่อมโยงกัน เหมือนเซลล์ประสาทในสมอง โดยจะใช้ภาพ เส้น สี สัญลักษณ์ และคำสำคัญ มาใช้วาดจากตรงกลางแล้วกระจายความคิดออกไป แทนการเขียนบันทึกด้วยตัวอักษรเรียงเป็นบรรทัดยาว ๆ

การนำ MIND MAP ไปใช้ จะใช้เมื่อไหร่ ????

  • ใช้ระดมพลังสมอง
  • ใช้นำเสนอข้อมูล
  • ใช้จัดระบบความคิดและช่วยความจำ
  • ใช้วิเคราะห์เนื้อหาหรืองานต่าง ๆ
  • ใช้สรุปหรือสร้างองค์ความรู้

หลักการเขียน MIND MAP
1. ตั้งต้นกระดาษเป็นแนวนอน เหมือนการจำลองการทำงานของสมอง เริ่มต้นวาดจากที่จุดกึ่งกลางกระดาษด้วย “ใจความสำคัญ” หรือ “Key Concept” หรือ “แก่นกลาง” ของเรื่องที่จะบันทึก
2. จับประเด็นลากเส้น “คำสำคัญ” หรือ “Key Word” โดยลากออกจากแก่นกลาง ซึ่งเรียกว่า “กิ่งแก้ว” เพื่อขยายความใจความสำคัญ และหากมีประเด็นย่อยที่ขยายใจความรอง จึงลากเส้นต่อขยายเราเรียกว่า “กิ่งก้อย” ทั้งนี้ การจับประเด็นไม่ควรเขียนประโยคยาว ๆ แต่ให้สรุปใจความสั้น ๆ
ทั้งนี้ สามารถใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์แทนคำสำคัญ โดยใช้ปากกาหลากสีแทนกิ่งแก้ว วาดเส้นให้โค้งแทนเส้นตรง เส้นจะลากออกจากตรงกลางใจความสำคัญ เส้นกิ่งแก้วและกิ่งก้อยเป็นสีเดียวกัน

หลักการจับประเด็นสำคัญประกอบการทำ MIND MAP คือ
1. การจับประเด็นจะประกอบไปด้วยใจความหลักและใจความรอง โดยการจับประเด็นใจความหลักจะใช้หลัก 5W 1H ซึ่งประกอบด้วย ใคร ทำอะไร ทำที่ไหน ทำเมื่อไหร่ และทำอย่างไร เพื่อหาคำสำคัญในใจความสำคัญที่ต้องการบันทึก
2. ผู้บันทึกสามารถจับความสำคัญรองได้จากบริบทประกอบ ท่าทาง น้ำเสียง แววตาที่ผู้ถ่ายทอดต้องการสื่อสาร ซึ่งเป็นองค์ประกอบใจความสำคัญ

เทคนิคการจับประเด็น

  • ฟังอย่างมีสมาธิ ไม่วอกแวก หรือคิดถึงสิ่งอื่น
  • จับประเด็นของผู้พูดให้ได้เร็วที่สุด เขียนไว้กลางหน้ากระดาษ
  • จับคำสำคัญในประเด็นที่ฟัง ได้ประเด็นรอง นำมาเขียนต่อกับประเด็นหลักในคำสำคัญ จับประเด็นย่อยๆ นำมาเชื่อมโยงกัน โดยใช้สีและเส้นเป็นตัวเชื่อมโยง

ข้อควรระวังระหว่างการจับประเด็น

  • ฟังไม่ทัน (มีสมาธิ ตั้งใจฟัง)
  • จับประเด็นไม่ถูก แยกไม่ออกไม่รู้ว่าควรเป็นหมวดใด กลุ่มใด (จับคำสำคัญ)
  • ไม่รู้ว่าจะวางเรื่องอย่างไร อันไหนควรเป็นเรื่องหลัก (จุดประสงค์/เป้าหมาย) เรื่องรองหรือเรื่องย่อย ๆ ลงมา (เสริมให้สมบูรณ์มากขึ้น)

ตัวอย่างแผนที่ความคิด (MIND MAP)