เรียน e-Learning อย่างไร? ให้พร้อมสมัครหลักสูตรนักบริหาร

ประกาศแนวทางการกำหนดให้การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) เป็นคุณสมบัติในการสมัครและคัดเลือกบุคลากรให้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหาร

1. กำหนดกลุ่มของผู้สมัครแบ่งตามสายงาน

กำหนดกลุ่มของผู้ที่จะสมัครเข้ารับการอบรมหลักสูตรนักบริหาร โดยแบ่งตามสายงานของบุคลากร เพื่อให้สอดคล้องกับการกำหนดตำแหน่งจำแนกตามสายงานที่กรมส่งเสริมการเกษตรกำหนดไว้ จำนวน 2 กลุ่ม คือ สายงานหลัก และสายงานสนับสนุน

2. ลงทะเบียนเรียน e-Learning

ให้ใช้หลักสูตร/วิชา e-Learning ของกรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงาน ก.พ. เพื่อพัฒนาสมรรถนะ และเตรียมความพร้อมก่อนการเข้ารับการอบรมหลักสูตรนักบริหาร โดยกำหนดให้มีวิชาหลักและวิชาเลือก ของหลักสูตรในแต่ละระดับ

เว็บไซต์ DOAE e-Learning
การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) กรมส่งเสริมการเกษตร

เว็บไซต์ OCSC Learning Portal
ศูนย์การเรียนรู้ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบบูรณาการ สำนักงาน ก.พ.

3. หลักสูตร/วิชา e-Learning สำหรับผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหาร ระดับต้น (นสต. / นบต.)

หลักสูตรนักบริหาร ระดับต้น ผู้สมัครจะต้องเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กรมฯ กำหนด รวม 45 ชั่วโมง

หลักสูตร e-Learning ของกรมส่งเสริมการเกษตร
หลักสูตรการเสริมสร้างสมรรถนะนักส่งเสริมการเกษตร ระดับปฏิบัติการ
1) การจัดกระบวนการเรียนรู้
2) การพัฒนาองค์กรเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนและเครือข่าย
3) การจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรแบบมีส่วนร่วม
4) การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
5) การวิเคราะห์สถานการณ์ด้านการเกษตร
6) การส่งเสริมเคหกิจเกษตร
7) เทคนิคการทำงานส่งเสริมการเกษตร

หลักสูตร e-Learning ของสำนักงาน ก.พ.
วิชาหลัก Digital Literacy
วิชาเลือก
1) ความมั่นคงปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตและการปฏิบัติตนสำหรับข้าราชการยุคดิจิทัล
2) การทำอินโฟกราฟิก (Infographic) เพื่อการประชาสัมพันธ์
3) การคิดวิเคราะห์ (Analytical Skill)
4) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรม
5) ภาษาอังกฤษเพื่อการทำงาน : การสนทนาในสถานการณ์ต่าง ๆ
6) การให้บริการที่เป็นเลิศ
7) การสร้างความเป็นมืออาชีพ
8) Project Management สำหรับข้าราชการระดับปฏิบัติการ
9) พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
10) พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ

4. หลักสูตร/วิชา e-Learning สำหรับผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหาร ระดับกลาง (นสก. / นบก.)

หลักสูตรนักบริหาร ระดับกลาง ผู้สมัครจะต้องเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กรมฯ กำหนด รวม 33 ชั่วโมง

หลักสูตร e-Learning ของกรมส่งเสริมการเกษตร
หลักสูตรการเสริมสร้างสมรรถนะนักส่งเสริมการเกษตร ระดับชำนาญการ
1) การจัดการฟาร์ม
2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร
3) การจัดการความรู้ในงานส่งเสริมการเกษตร
4) การสื่อสารเพื่อการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร
5) เศรษฐกิจพอเพียง

หลักสูตร e-Learning ของสำนักงาน ก.พ.
วิชาหลัก Digital Literacy
วิชาเลือก
1) การออกแบบนวัตกรรมบริการ
2) การคิดเพื่อประสิทธิผลของงาน
3) ภาษาอังกฤษ : การเขียนเพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
4) บทบาทหน้าที่ของผู้บังคับบัญชายุคใหม่
5) การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ
6) การวางแผนกลยุทธ์
7) นวัตกรรมกับการทำงานภาครัฐ
8) การสอนงาน (Coaching)

5. หลักสูตร/วิชา e-Learning สำหรับผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหาร ระดับสูง (นบส.)

หลักสูตรนักบริหาร ระดับสูง ผู้สมัครจะต้องเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กรมฯ กำหนด รวม 39 ชั่วโมง

หลักสูตร e-Learning ของกรมส่งเสริมการเกษตร
หลักสูตรการเสริมสร้างสมรรถนะนักส่งเสริมการเกษตร ระดับชำนาญการพิเศษ
1) การบริหารจัดการเชิงระบบในงานส่งเสริมการเกษตร
2) การบริหารการเปลี่ยนแปลงในงานส่งเสริมการเกษตร 
3) การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาในงานส่งเสริมการเกษตร
4) การสื่อสารเพื่อการประสานความร่วมมือในงานส่งเสริมการเกษตร

หลักสูตร e-Learning ของสำนักงาน ก.พ.
วิชาหลัก Digital Literacy
วิชาเลือก
1) ภาษาอังกฤษเพื่อการทำงาน : การเขียนจดหมายโต้ตอบในสถานการณ์ต่างๆ
2) ภาวะผู้นำในการทำงานกับผู้อื่นอย่างสมดุล (Working with People)
3) การแปลงกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ
4) การปรับเปลี่ยนองค์กรสู่แนวคิด Work-Life Integration
5) Project Management สำหรับข้าราชการระดับบริหาร
6) การบริหารทรัพยากรบุคคลแนวใหม่ (HR Transformation)
7) การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานและการให้บริการประชาชนแบบ e-Government
8) การขับเคลื่อนนวัตกรรมในองค์กร (Driving Innovation in Organization)

การให้บริการสื่อส่งเสริมการเกษตร ผ่านเว็บไซต์กรมส่งเสริมการเกษตร

ขอขอบคุณข้อมูล : กลุ่มพัฒนาสื่อส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
ศึกษาข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจ : กลุ่มพัฒนาสื่อส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

การจัดสรรทุนศึกษาต่อในประเทศของบุคลากรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ สถาบัน AIT

ขอขอบคุณข้อมูล : สถาบันเกษตราธิการ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ศึกษาข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจ : Kst Channel 2021

ยุวเกษตรกรเป็นได้ไม่ยาก

กรมส่งเสริมการเกษตร ได้จัดทำสื่อความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานกลุ่มยุวเกษตรกร โดยนำเสนอในรูปแบบหนังสือการ์ตูนที่นำต้นฉบับ ปี 2523 มาปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ โดยการทำเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ที่เล่าถึงนายเด่น ดวงดี มาเป็น ‘ยุวเกษตรกรต้นแบบ’ ได้อย่างไร เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการกลุ่มยุวเกษตรกร และร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ “70 ปี ยุวเกษตรกรไทย”

แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566-2570

แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566-2570 โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.)

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.)
https://s.moac.go.th/NBXj5y

การส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่

การส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่

เอกสารการส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่

วีดิทัศน์การส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่

เรื่องที่ 1.1 ความเป็นมาของการส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่

เรื่องที่ 1.2 ความหมายและความสำคัญของการส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่

เรื่องที่ 1.3 กรอบแนวคิดการส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่

เรื่องที่ 1.4 การปรับกระบวนทัศน์ในการทำงานส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่

เรื่องที่ 1.5 การมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำงานส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่

เรื่องที่ 2.1 แนวทางในงานส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่

เรื่องที่ 2.2 กระบวนการทำงานส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่

เรื่องที่ 2.3 เครื่องมือในการทำงานส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่

เรื่องที่ 2.4 เทคนิคการทำงานและการแก้ปัญหาในการส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่

เรื่องที่ 2.5 ข้อค้นพบ (ปัญหา/อุปสรรค และข้อเสนอแนะ)

เรื่องที่ 3.1 กรณีศึกษาแปลงใหญ่ผักปลอดภัย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

เรื่องที่ 3.2 กรณีศึกษากระบวนการพัฒนามะพร้าวอ่อนครบวงจร อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

เรื่องที่ 3.3 กรณีศึกษาแปลงใหญ่มะพร้าวบางตลาด อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา

เรื่องที่ 3.4 กรณีศึกษาแปลงใหญ่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผักนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์

เรื่องที่ 3.5 กรณีศึกษาแปลงใหญ่มังคุด อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช

เรื่องที่ 3.6 กรณีศึกษาโครงการส่งเสริมการผลิตอโวคาโดครบวงจรอำเภอพบพระ จังหวัดตาก